วันเสาร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 1 วันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

การบ้าน

1.กรอกข้อมูลและเริ่มทำการบ้าน สร้างบล็อกบันทึก-สรุปการเรียนรู้ในรายวิชานี้ 
เลือกกลุ่มและงานอื่นๆที่ให้กรอก

2.ตรวจสอบสิทธิ์ผู้ใช้และรหัสผ่าน สมัครเรียนเข้าสอบในระบบออนไลน์ ที่ clarolinethai.info

3.ทำแบบสอบถามศักยภาพและความพึงพอใจก่อนการเรียน

4.แบ่งกลุ่มทำงานโครงการวิจัยออกแบบพัฒนาบรรจุภัณฑ์ตามที่ได้รับมอบหมาย 
และภายในวันที่ 16 สิงหาคมนี้ให้นักศึกษาไปสำรวจและเก็บข้อมูลผลิตภัณฑ์สินค้าโอทอป
ด้านสมุนไพร คนละ 1 ผลิตภัณฑ์ ของผู้ประกอบการที่มาจากจังหวัดชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี
และลพบุรี ส่วนนักศึกษาภาคนอกเวลา ให้เก็บข้อมูลจังหวัดนนทบุรี  ปทุมธานี สระบุรีและอยุธยา 
ที่งานศิลปาชีพ ประทีปไทย ที่ เมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ อาคารชาเลนเจอร์ พร้อมจัดซื้อจัดหาสินค้าที่วางจำหน่าย หรือขออนุญาตถ่ายภาพสินค้า ภาพผู้ประกอบการ ที่วิเคราะห์ด้วยการมองเห็น 
(Visual Analysis) แล้วว่ามีปัญหา มีการละเมิดสิทธิ์ และผู้ประกอบการมีความต้องการแก้ไข 
การออกแบบพัฒนาด้านกราฟิก ตราสัญลักษณ์ และ รูปลักษณ์บรรจุภัณฑ์ใหม่ ให้ถูกต้องตาม
กฏหมายลิขสิทธิ์ โดยใช้แบบฟอร์มเก็บข้อมูลที่อาจารย์แชร์ให้ใน Google Drive /มอบสำเนาให้แล้ว 
โดยให้เป็นโจทย์เรียนและให้สรุปรายงานไปนำเสนอรวมแต่ละกลุ่มแต่ละคน ในวันที่ 18 และ 19 
แยกตามรายละเอียดของแต่ละรายวิชา

5.การเรียนทั้งสองวิชาในสัปดาห์ที่ 2 18-19 สิงหาคม มีการสอบวัดความรู้ก่อนเรียน (Pre Test) เวลา 9.00 น.



ความหมายของการออกแบบอัตลักษณ์



การออกแบบอัตลักษณ์ คือ การออกแบบอัตลักษณ์ขององค์กรหรือแบรนด์สินค้า 
ที่ไม่ได้หมายถึงการสร้างแบรนด์หนึ่งๆ โดยตรง แต่เป็นหน้าต่างสำคัญที่จะกำหนดหน้าตา
และทิศทางของแบรนด์นั้นๆ ได้ การออกแบบอัตลักษณ์นี้จึงไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะมันไม่ใช่แค่
การออกแบบ “โลโก้” แล้วนำไปประยุกต์ใช้กับเครื่องมือสื่อสารทั้งหมดของแบรนด์ CI Design 
คือ การออกแบบ “ภาพลักษณ์ทั้งหมดของแบรนด์” ที่จะทำให้คนภายนอกสัมผัสได้เฉกเช่นเดียว
กับที่องค์กรต้องการสื่อออกไป เรียกว่า ถ้าพลาดก็อาจทำให้ภาพของแบรนด์บิดเบี้ยวไปเลยก็ได้
คำว่า “อัตลักษณ์” ไม่มีบันทึกไว้ในพจนานุกรม แต่มีตำราหลายเล่มให้ความหมายคำว่า “อัตลักษณ์” 
ไว้ว่า คุณลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ของลักษณะเฉพาะของตัวบุคล สังคม ชุมชน 
หรือประเทศนั้นๆ เช่น เชื้อชาติ ภาษา วัฒนธรรมท้องถิ่น และศาสนา ฯลฯ ซึ่งมีคุณลักษณะ
ที่ไม่ทั่วไปหรือสากลกับสังคม อื่นๆ กล่าวคือ ลักษณะที่ไม่เหมือนกับของคนอื่นๆ “อัตลักษณ์” 
มาจากภาษาบาลีว่า อตฺต + ลักษณ โดยที่ “อัตตะ” มีความหมายว่า ตัวตน, ของตน ส่วน “ลักษณะ” 
หมายถึง สมบัติเฉพาะตัว หากมองเพียงแค่รูปศัพท์ “อัตลักษณ์” จึงเหมาะจะนำมาใช้หมายถึ
ลักษณะเฉพาะตัวของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมากกว่า ส่วนคำว่า “เอกลักษณ์” มีคำว่า “เอก” ซึ่งหมายถึง 
หนึ่งเดียว จึงน่าจะหมายความว่าลักษณะหนึ่งเดียว (ของหลายๆ สิ่ง) หรือลักษณะที่ของหลายๆ 
สิ่งมีร่วมกัน ซึ่งเป็นความหมายแรกตามพจนานุกรมอย่างไรก็ดี คนไทยโดยส่วนใหญ่ยังนิยมใช้คำว่า “เอกลักษณ์” ในความหมายว่าลักษณะเฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครอย่างกว้างขวาง ส่วนคำว่า 
“อัตลักษณ์” นั้นมักจะใช้ในวงแคบๆ เช่นแวดวงวิชาการเท่านั้น และบางครั้งก็ใช้แบบมีนัยยะแฝง 
เช่น “เอกลักษณ์” เป็นสิ่งตายตัวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ส่วน “อัตลักษณ์” 
สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่กระนั้นก็ยังไม่มีข้อบัญญัติการใช้ที่ชัดเจน
( อ้างอิงจาก - http://panupat-arti3901.blogspot.com/2012/07/logo.html )

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น